Factory Automation
กรณีศึกษาที่ 3
เพิ่มผลผลิตมากถึง 70%
ด้วยระบบซ่อมบำรุงอัตโนมัติ
เต็มรูปแบบ
Russian Railways
ธุรกิจขนส่งสินค้า ประเทศรัสเซีย
ความเป็นมา/ ปัญหา
การควบคุมระบบการซ่อมบำรุงขนาดใหญ่เป็นเรื่องยากและซับซ้อน
Russian Railways เป็นหนึ่งในบริษัทรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในแต่ละปีมีการขนส่งสินค้ามากกว่า 1.3 พันล้านตัน* ซึ่งเทียบเท่ากับ 80% ของการขนส่งสินค้าทั้งหมด และมีผู้โดยสารมากกว่า 1.3 พันล้านคน คิดเป็น 40% ของการขนส่งผู้โดยสารทั้งหมดของรัสเซีย ด้วยเส้นทางจากทะเลดำข้ามไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกที่ทอดยาวกว่า 85,500 กม. ซึ่งถือเป็นเส้นทางที่ยาวเป็นอันดับสองของโลก การที่รถไฟต้องวิ่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดในโลกนี้ทำให้เกิดความเสียหายกับตัวรถได้อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องให้บริการการซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่อง
การจัดการซ่อมบำรุงรักษายานพาหนะจำนวนมากๆ ถือเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนสูง ทั้งหัวรถจักรจำนวน 20,000 คัน (โดยประมาณ) ตู้โดยสาร 25,000 คันและตู้บรรทุกสินค้า 630,000 คัน ทำให้ไม่สามารถระบุและติดตามชิ้นส่วนที่ได้รับการซ่อมแซมหรือจัดการปรับตารางเวลาได้ในทันที ทำให้จำเป็นต้องปรับปรุงผลิตภาพของโรงงานที่ใช้ทำการซ่อมแซม
*สถิติในปี 2008 เมื่อเริ่มทำการติดตั้งโซลูชัน
วิธีแก้ปัญหา
ผสาน ควบคุมกระบวนการทั้งหมด และติดตั้งระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
การที่จะปรับปรุงธุรกิจขนส่งสินค้าของหนึ่งในเครือข่ายชั้นนำของโลกนั้น จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่ไม่เหมือนใคร จึงได้นำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดเพียงหนึ่งเดียว
เราเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลรถทั้งหมดเพื่อระบุชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องทำการซ่อมแซมและจัดการปรับตารางการบำรุงรักษา จากนั้นจึงเชื่อมต่อทุกกระบวนการซ่อมแซมในแพลตฟอร์มระบบอัตโนมัติเดียวที่ทำให้สามารถควบคุมและตรวจสอบสถานะจากส่วนกลางได้ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยี Radio frequency identification (RFID) ในการสร้างระบบการตรวจสอบย้อนกลับ โดยสามารถติดตามจากแท็ก RFID ที่พิมพ์บนชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งหมดนี้ทำให้สามารถกำจัดความสูญเสียและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการต่างๆได้ และช่วยเพิ่มผลิตภาพได้อย่างมีนัยสำคัญ
ผลลัพธ์
ผลิตผลเพิ่มมากขึ้นถึง 70%
โซลูชันนี้ช่วยให้ Russian Railways สามารถรวบรวมข้อมูลสถานะปัจจุบันของรถขนส่งสินค้า สามารถควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานโดยรวมของโรงงานได้ รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการปรับปรุงประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาโดยรวม ผลลัพธ์ที่ได้คือความสามารถในการซ่อมบำรุงที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จึงทำให้สามารถบำรุงรักษาและซ่อมแซมรถได้มากถึง 7,300 คันต่อปี ซึ่งเพิ่มมากกว่าเดิมถึง 3,000 คันเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มต้นใช้งานระบบ
SMKL
เพิ่มความสามารถในการมองเห็นสถานะโดยรวม
และการตรวจสอบย้อนกลับชิ้นส่วน
และการตรวจสอบย้อนกลับชิ้นส่วน
Level D
การเพิ่มประสิทธิภาพ
Making ROI bigger step by step by using SMKL.
Level C
การวิเคราะห์
Level B
การทำให้เห็นภาพ
Level A
การรวบรวมข้อมูล
Level 1
ผู้ปฏิบัติงาน
Level 2
สถานที่ปฏิบัติงาน
Level 3
โรงงาน
Level 4
ห่วงโซ่อุปทาน
การตรวจสอบย้อนกลับ
-
ขั้นตอนที่ 1A2 :สามารถตรวจสอบย้อนกลับหน่วยการผลิตทั้งหมดได้ติดตามประวัติและสถานะของผลิตภัณฑ์ได้ด้วยข้อมูลที่บันทึกไว้ จึงสามารถรู้ว่าชิ้นส่วนอยู่ที่ใดและมีความเกี่ยวข้องกับขั้นตอนใดบ้าง
-
ขั้นตอนที่ 2B3 :เห็นภาพห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดมองเห็นภาพรวมการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่การสับเปลี่ยนรถในสถานีไปจนถึงการตกแต่งใหม่และการบำรุงรักษา
เสียงตอบรับจากลูกค้า
การติดตั้งระบบนี้ได้กลายเป็นต้นแบบสำหรับระบบอัตโนมัติในโรงงาน
ความสำเร็จของสถานที่ซ่อมบำรุงแห่งนี้ถือเป็นโรงงานต้นแบบสำหรับการปรับปรุงระบบให้ทันสมัยของ Russian Railways ที่สร้างรายได้มากถึง 3.6% ของ GDP ทั้งหมดในรัสเซีย หลังจากโครงการประสบความสำเร็จ นาย Vladimir Yakunin ประธานแห่ง Russian Railways ได้ประกาศแผนการลงทุนในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยต่อจากโครงการนี้จะนำไปพัฒนาไลน์การบำรุงรักษาและการตกแต่งที่คล้ายกันอีก 2 แห่ง รวมถึงมีแผนพัฒนาโรงงานเพิ่มอีก 20 แห่งภายในระยะเวลา 10 ปีนี้
นาย Eugene Klevanov หัวหน้าวิศวกรโครงการของ Technikon Ltd. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติและเป็นบริษัทพันธมิตรด้าน SI กล่าวว่า "แพลตฟอร์มอัตโนมัติของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค เป็นสิ่งเดียวที่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดได้ในระยะเวลาอันสั้นที่สุดสำหรับโครงการพัฒนาสู่ระบบอัตโนมัติของ Russian Railways" และเขายังได้พูดถึงแนวโน้มในอนาคตว่า “ผมหวังว่าจะมีโครงการเช่นนี้เกิดขึ้นตามมาอีกหลายโครงการที่ใช้เรื่องราวและความสำเร็จของสถานที่ซ่อมบำรุงแห่งนี้เป็นต้นแบบ”