Factory Automation
กรณีศึกษาที่ 2
บริหารโรงงาน
อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยการแสดงภาพ
ของข้อมูล
Lotte Co., Ltd. โรงงานที่อูราวะ
อุตสาหกรรมอาหาร ประเทศญี่ปุ่น
ความเป็นมา/ ปัญหา
ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการได้
เนื่องจากต้องพึ่งพาการตัดสินใจของมนุษย์
เนื่องจากต้องพึ่งพาการตัดสินใจของมนุษย์
โรงงาน Lotte ที่อูราวะเป็นโรงงานผลิตขนม เช่น ช็อคโกแลต ลูกอม ขนมหวานเย็นและไอศกรีม ซึ่งถือเป็นโรงงานที่มีปริมาณการผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าในกลุ่มผู้ผลิตจะมีแนวโน้มการใช้งานระบบอัตโนมัติมากขึ้น แต่ก็ถือว่ายังไม่แพร่หลายในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมากนัก
ในกรณีของโรงงาน Lotte พบปัญหาจากการแก้ไขข้อผิดพลาดโดยพึ่งพา “ประสบการณ์” ของวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียว จึงไม่มีการชี้แจงสาเหตุเมื่อเกิดปัญหา ไม่มีกฎเกณฑ์ในการตัดสินใจ และกระบวนการส่วนใหญ่ยังดำเนินต่อไปได้โดยอาศัย “ประสบการณ์” ของมนุษย์เท่านั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น การขาดแคลนแรงงานในอนาคตเมื่อวิศวกรที่มีทักษะต้องเกษียณอายุ ตลอดจนความต้องการกำลังคนและเวลาในการแก้ไขปัญหาเมื่อสายการผลิตหยุด หรือเครื่องจักรขัดข้องอันเนื่องมาจากความผิดปกติของเครื่องจักร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้โซลูชันที่สามารถควบคุมกระบวนการทั้งหมดได้จากส่วนกลาง โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT (Internet of Things)
วิธีแก้ปัญหา
วิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูล ความรู้และทักษะของผู้เชี่ยวชาญให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
ด้วยความตั้งใจที่อยากจะนำไปใช้กับทั้งสายการผลิต เราจึงเริ่มต้นจากกระบวนการผลิตอันซับซ้อนของ “Yukimi Daifuku” (ไดฟุกุไส้ไอศกรีม) โดยใช้โซลูชันวิเคราะห์ข้อมูลในสถานที่ผลิตที่สามารถทำงานได้ทั้งแบบออฟไลน์และในแบบ Real-time
(ขั้นตอนที่ 1) เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงติดตั้งเซ็นเซอร์ที่สามารถวัดค่าอุณหภูมิ ความดัน ความสั่นสะเทือน ค่ากระแสไฟฟ้า ฯลฯ และรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแป้งโมจิซึ่งที่ผ่านมาได้อาศัยเพียง “ประสบการณ์” ของผู้เชี่ยวชาญที่หน้างานเท่านั้น
(ขั้นตอนที่ 2) จากการวิเคราะห์ข้อมูล เราจึงทราบความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทำแป้งโมจิและปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิต และประสบความสำเร็จในการสร้างกฎการวินิจฉัย (diagnostic rules)
(ขั้นตอนที่ 3) มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนากลไกเพื่อรวบรวม ใช้ประโยชน์ และควบคุมข้อมูลของทั้งสายการผลิต โดยไม่จำกัดเฉพาะแค่ในส่วนการทำแป้งโมจิเท่านั้น
ผลลัพธ์
ประสบความสำเร็จในการทำให้ทั้งสายการผลิตเป็นระบบอัจฉริยะ
เริ่มจากการพัฒนาในส่วนเล็กๆและค่อยๆขยายผลการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลจนครอบคลุมทั้งสายการผลิต ด้วยการใช้ระบบการผลิตอัจฉริยะนี้ทำให้สามารถ “บำรุงรักษาเชิงป้องกัน” เพื่อตรวจจับสัญญาณของปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงและสามารถ “รักษาเสถียรภาพของคุณภาพสินค้า” เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดของเสีย จึงทำให้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงอัตราการผลิตเป็นอย่างมาก
SMKL
เกิดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลในทั้งสายการผลิต
Level D
การเพิ่มประสิทธิภาพ
Making ROI bigger step by step by using SMKL.
Level C
การวิเคราะห์
Level B
การทำให้เห็นภาพ
Level A
การรวบรวมข้อมูล
Level 1
ผู้ปฏิบัติงาน
Level 2
สถานที่ปฏิบัติงาน
Level 3
โรงงาน
Level 4
ห่วงโซ่อุปทาน
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ขั้นตอนที่ 1C1 :การแสดงให้เห็นข้อมูล
(การรวบรวม / ประมวลผลข้อมูล) -
ขั้นตอนที่ 2C2 :การวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล
(ประมวลผลข้อมูลแบบ Real-time) -
ขั้นตอนที่ 3B3 :การนำไปใช้กับทั้งสายการผลิต
เริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลจากกระบวนการเล็กๆแล้วนำมาวิเคราะห์แบบ Real-time และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต จึงประสบความสำเร็จในการขยายผลจากกระบวนการที่จำกัดจนครอบคลุมทั้งสายการผลิต
เสียงของลูกค้า
จุดมุ่งหมายคือการขยายผลการสร้างโรงงานอัจฉริยะ
สมาชิกที่มุ่งมั่นที่จะทำให้โรงงาน Lotte ที่อูราวะกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ (จากด้านซ้ายไปขวา) นายอากิโมโตะ นายซูกิโมโตะ และนายอูสะจากโรงงาน Lotte และนายสึโยชิ มัตสึนากะ จากนาราซากิซังเกียวที่สนับสนุนการเริ่มต้นใช้งานระบบ
เป้าหมายของโรงงาน Lotte ที่อูราวะคือการเป็น “โรงงานอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ” ดังนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการใช้โซลูชันที่ช่วยในด้าน “การทำให้มองเห็น” และช่วยขยายขอบเขตการรับข้อมูล นอกจากนี้ เราได้วางแผนที่จะลดภาระงานและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย “การทำให้มองเห็น” จึงเร่งทำการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างมุ่งมั่น และมีแผนที่จะนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูลในโซลูชันนี้ไปใช้กับโรงงานผลิต Yukimi Daifuku ที่คิวชูและชิกะอีก 2 แห่งในอนาคต
นายซูกิโมโตะ กล่าวถึงอนาคตว่าจะมุ่งเป้าให้โรงงานกลายเป็นระบบการผลิตอัตโนมัติอย่างแท้จริง โดยกล่าวว่า “อนาคตในอุดมคติของผมคือการที่โรงงานสามารถดำเนินการผลิตแบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง พวกเราต้องการสร้างระบบที่สามารถตอบสนองและจัดการกับปัญหาได้โดยอัตโนมัติก่อนที่เครื่องจักรจะหยุดทำงานหรือเกิดของเสียในกระบวนการผลิต”