Factory Automation

กรณีศึกษาที่ 1

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
ที่ลดค่าใช้จ่ายมากถึง 30%
และสามารถทำงาน
365 วันอย่างต่อเนื่อง

Stadtwerke Rotenburg

ระบบสาธารณูปโภค ประเทศเยอรมนี

ความเป็นมา/ ปัญหา
ต้องการยกระดับการบริการ ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาซ่อมแซม

99% ของครัวเรือนในเยอรมนีเชื่อมต่อกับโรงบำบัดน้ำเสียและมีการใช้งานอยู่ทุกวัน โรงบำบัดน้ำเสียจึงต้องบำบัดและหมุนเวียนน้ำอย่างต่อเนื่อง 365 วันตลอดปี ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามที่โรงบำบัดน้ำเสียของ Stadtwerke Rotenburg a.d. Fulda มักเกิดความขัดข้องอันเนื่องจากปัญหาในการออกแบบอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อเกิดการชำรุดของชิ้นส่วนอุปกรณ์ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนยกเครื่องใหม่ทั้งหมด จึงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากกว่าที่วางแผนไว้และต้องใช้ระยะเวลาซ่อมแซมนานถึง 3 เดือน
เพื่อทำให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น จึงจำเป็นต้องหาโซลูชันที่สามารถตรวจจับความผิดปกติของเครื่องจักรเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

วิธีแก้ปัญหา
ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่ม
ด้วยการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time

Stadtwerke Rotenburg a.d. Fulda ได้ติดตั้งโซลูชันการตรวจสอบสถานะแบบ Real-time เพื่อป้องกันเหตุขัดข้องที่อาจเกิดขึ้น สามารถตรวจจับและวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มที่มนุษย์ไม่สามารถระบุได้ และยังสามารถส่งการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้สามารถวางแผนการบำรุงรักษาและทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับเครื่องจักรและระบบการผลิตด้วยเหตุนี้จึงสามารถลดระยะเวลา Downtime ของเครื่องจักรซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบสาธารณูปโภค

ผลลัพธ์
ลดค่าใช้จ่ายที่มาจากเหตุขัดข้องมากถึง 30%
และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง

การเกิดเหตุขัดข้องแต่ละครั้งทำให้มีค่าใช้จ่ายมหาศาลและจำเป็นต้องหยุดทำงานเป็นเวลานานเพื่อทำการซ่อมแซม โซลูชันนี้จึงช่วยให้สามารถวางแผนและดำเนินการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม 30% รวมไปถึงช่วยลดระยะเวลา Downtime
นอกจากนี้ค่าประสิทธิภาพโดยรวมของโรงงานยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน (Life Cycle Cost) ของปั๊มลดลงเพราะสามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพ ต่างจากในอดีตที่จำเป็นต้องเปลี่ยนมอเตอร์และกระปุกเกียร์ทั้งชุดแม้ว่าจะเสียหายแค่เพียงบางส่วน

SMKL
จัดการข้อมูลและรายงานผลการวิเคราะห์แบบ Real-time

Level D

การเพิ่มประสิทธิภาพ

การเพิ่มประสิทธิภาพคนงาน

Making ROI bigger step by step by using SMKL.

การเพิ่มประสิทธิภาพสถานที่ทำงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพโรงงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน

Level C

การวิเคราะห์

การวิเคราะห์คนงาน

การวิเคราะห์สถานที่ทำงาน

การวิเคราะห์โรงงาน

การวิเคราะห์ซัพพลายเชน

Level B

การทำให้เห็นภาพ

การทำให้เห็นภาพคนงาน

การทำให้เห็นภาพสถานที่ทำงาน

การทำให้เห็นภาพโรงงาน

การทำให้เห็นภาพซัพพลายเชน

Level A

การรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลคนงาน

การรวบรวมข้อมูลสถานที่ทำงาน

การรวบรวมข้อมูลโรงงาน

การรวบรวมข้อมูลซัพพลายเชน

Level 1

ผู้ปฏิบัติงาน

Level 2

สถานที่ปฏิบัติงาน

Level 3

โรงงาน

Level 4

ห่วงโซ่อุปทาน

ระดับความสมบูรณ์ระดับการจัดการ

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์

  • ขั้นตอนที่ 1A2 :
    การรวบรวมข้อมูล
  • ขั้นตอนที่ 2C2 :
    การวิเคราะห์/ การใช้ข้อมูล
    (ประมวลผลข้อมูลแบบ Real-time)
  • ขั้นตอนที่ 3D2 :
    การเพิ่มประสิทธิภาพสถานที่ปฏิบัติงาน

เพื่อให้สามารถตรวจจับความผิดปกติก่อนเริ่มต้นใช้งานระบบตรวจสอบสถานะ จำเป็นต้องติดตั้งเซ็นเซอร์วัดความสั่นสะเทือนเพื่อรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์แบบ Real-time ทำให้สามารถตรวจจับความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จากนั้นจึงส่งการแจ้งเตือนล่วงหน้าไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุงเพื่อวางแผนในลำดับถัดไป นอกจากนี้ข้อมูลทั้งหมดยังถูกรายงานกลับไปยังส่วนกลางเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบการทำงานของระบบปั๊มในแต่ละที่และทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้

เสียงตอบรับจากลูกค้า
ติดตั้งได้อย่างราบรื่นโดยไม่รบกวนการทำงานปกติ

จากด้านซ้าย: Michael Böttner, โปรแกรมเมอร์, Willich Elektrotechnik GmbH, Christoph Behler, ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ, Mitsubishi Electric Europe B.V., Stephan Heckeroth, ผู้จัดการฝ่ายการผลิต, Stadtwerke Rotenburg a. d. Fulda, Antonio Genovese, ผู้จัดการฝ่ายบำบัดน้ำเสียที่โรงบำบัดน้ำเสียของเทศบาล Rotenburg a. d. Fulda

นาย Genovese จาก Rotenburg พอใจเป็นอย่างยิ่งที่การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่รบกวนการทำงานปกติเลย โดยกล่าวว่า “ผมรู้สึกประหลาดใจและประทับใจในการติดตั้ง เพราะเสร็จสิ้นภายในเวลาไม่ถึง 1 วันโดยที่ไม่ขัดจังหวะการทำงานจนผมแทบไม่ทันสังเกตเลยว่าได้มีการติดตั้งระบบเข้ากับเครื่องแล้ว”
Michael Böttner โปรแกรมเมอร์ของ Willich ผู้ผสานรวมระบบที่ทำงานร่วมกับ Stadtwerke Rotenburg และเป็นผู้เสนอให้ Rotenburg ใช้ระบบการเฝ้าระวังนี้ได้กล่าวด้วยความยินดีกับความสำเร็จของโครงการว่า “ผลการทดสอบที่ Rotenburg เป็นไปด้วยดี หลังจากนี้ ผมจะสามารถนำเสนอระบบให้แก่ลูกค้าโดยชี้แจงข้อดีของระบบได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น”

การนำไปใช้งาน
รองรับตั้งแต่เครื่องจักรขนาดเล็กไปจนถึงระบบขนาดใหญ่ยักษ์

โซลูชันการตรวจสอบนี้สามารถใช้กับมอเตอร์ของเครื่องจักรใดก็ได้ ที่โรงงานกระดาษ Mitsubishi HiTec Paper Europe GmbH ในประเทศเยอรมนีพบข้อบกพร่องของระบบทำความเย็นในเครื่องจักรซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงมีการใช้โซลูชันตรวจสอบสภาพมอเตอร์ของพัดลมระบายความร้อนขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 100 กก. จำนวน 26 ตัว และสามารถวางแผนซ่อมบำรุงและดำเนินการได้อย่างมีแบบแผนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ระดับความสั่นสะเทือนไปจนถึงปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าโรงงานนี้มีกำลังการผลิตกระดาษมากถึง 300,000 กก. ต่อวัน โดยผลิตครั้งละ 9,000 กก. ทำให้ใช้ระยะเวลาคืนทุนทั้งหมดเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น กล่าวได้ว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบนั้นถูกกว่าค่าความเสียหายในการหยุดทำงาน 1 ชั่วโมงเสียอีก และนอกจากนี้ตัวระบบยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยรวม
และการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่เหมาะกับคุณ

ติดต่อเรา

กรณีศึกษา
เรามีผลงานอันโดดเด่นที่ตอบสนองความท้าทายในอุตสาหกรรมต่างๆ หลายประเทศทั่วโลก

SMKL
ระดับไคเซ็นการผลิตอัจฉริยะ - SMKL

กรอบการทำงานที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนได้ - SMKL

เรียนรู้เพิ่มเติม

ติดต่อเรา

ให้เราได้เป็นหนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จของคุณ

ติดต่อเรา